การจดทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรส

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 ต.ค. 2566

| 29,447 view

Website-Icon-2-70_2 

1.หลักเกณฑ์และข้อมูลทั่วไป

     - ต้องจองคิวล่วงหน้า

     - กรอกแบบฟอร์มออนไลน์ + อัพโหลดเอกสารออนไลน์ล่วงหน้า เท่านั้น

     - ไม่มีค่าธรรมเนียม

     - คุณสมบัติคู่สมรส

          - คู่สมรสต้องมาจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ พร้อมพยาน 2 คน

          - กรณีมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่ต้องมีบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม  

          - กรณีมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ต้องมีบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม

          - กรณีมีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องมีคำสั่งศาลให้สมรสได้   

          - คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย

          - การจดทะเบียนสมรสต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย

          - ไม่เป็นคู่สมรสของผู้อื่นในขณะจดทะเบียนสมรส   

          - หญิงที่เคยจดทะเบียนสมรสไทย และการสมรสสิ้นสุดลง (จากการหย่า สามีเสียชีวิต หรือคำสั่งศาล) จะจดทะเบียนสมรสใหม่ได้ เมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดลงไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้

               1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

               2) สมรสกับคู่สมรสเดิม

               3) มีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์ (หากใบรับรองแพทย์ออกที่ประเทศไทย ต้องผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล หากใบรับรองแพทย์ออกที่ประเทศออสเตรเลีย จะต้องผ่านการรับรองจาก Notary Public และรับรองเอกสาร (Authentication) จากกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย (Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT)) จองคิวล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ DFAT

               4) มีคําสั่งของศาลให้สมรสได้

          - กรณีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเคยหย่ามาก่อน และยังใช้นามสกุลของคู่สมรสเดิม ต้องเปลี่ยนนามสกุล กลับไปเป็นนามสกุลก่อนสมรสก่อน จึงจะจดทะเบียนสมรสใหม่ได้

          - คู่สมรส (ทั้งชายและหญิง) ต้องมีหนังสือรับรองสถานภาพสมรส**

 

2.เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรส

     2.1 เอกสารคู่สมรส (ต้องอัพโหลดเอกสารออนไลน์และนำเอกสารทั้งหมดมาแสดงในวันนัดจดทะเบียนสมรส)  

          - คู่สมรสสัญชาติไทย 1) บัตรประจำตัวประชาชน (ต้นฉบับ) 2) พาสปอร์ตไทย (ต้นฉบับ) 3) สำเนาทะเบียนบ้าน

          - คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นชาวต่างชาติ พาสปอร์ต หรือ ใบขับขี่ (ต้นฉบับ)   

          - หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส**ของคู่สมรส ต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือน

          - ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าต้นฉบับ (หากคู่สมรสเคยหย่ามาก่อน)

     2.2 เอกสารพยาน (ต้องมีอายุ 20 บริบูรณ์ขึ้นไป และต้องอัพโหลดออนไลน์ นำเอกสารทั้งหมดมาแสดงในวันนัด)

          - พยานสัญชาติไทย 1) บัตรประจำตัวประชาชน (ต้นฉบับ) 2) พาสปอร์ตไทย (ต้นฉบับ)

          - พยานชาวต่างชาติ พาสปอร์ต หรือ ใบขับขี่ (ต้นฉบับ)   

          **การขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส

          - สำหรับคนไทย ยื่นขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสได้ที่เขต/อำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในกรณีที่ไม่สามารถไปดำเนินการเองได้ที่ประเทศไทย สามารถทำการมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อให้ผู้อื่นที่ประเทศไทยดำเนินการแทนได้ 

          - สำหรับชาวออสเตรเลียที่อาศัยอยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ยื่นขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสได้ที่ Service NSW หากอาศัยอยู่รัฐอื่น กรุณาติดต่อสอบถามที่หน่วยงาน Registration of Births, Deaths and Marriages ในรัฐที่ท่านอาศัยอยู่ โดยเอกสารจะต้องผ่านการรับรองเอกสาร (Authentication) จากกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย (Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT)) จองคิวล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ DFAT

          - สำหรับบุคคลสัญชาติอื่นๆ โปรดติดต่อสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของท่าน

          กรณีที่เอกสารเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย The National Accreditation Authority for Translators and Interpreters (NAATI) และต้องผ่านการรับรองเอกสาร (Authentication) จากกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย (Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT)) จองคิวล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ DFAT

 

3.ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส  

     - ต้องจองคิวนัดหมายออนไลน์ ล่วงหน้า 5 วัน ที่เว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ 

     - กรอกข้อมูลและอัพโหลดเอกสารออนไลน์ให้ครบถ้วน  

     - จะได้รับอีเมลตอบกลับเพื่อยืนยันการจองคิว 

     - ในวันนัดหมาย คู่สมรสต้องนำพยานมาด้วย 2 คนโดยพยานต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ พร้อมเอกสารทั้งหมดที่อัพโหลด (รายละเอียดตามข้อ 2) มาในเวลาที่นัดหมาย  

     - ระยะเวลาดำเนินการอยู่ที่ 1 - 2 ชั่วโมง กรณีเอกสารครบถ้วน

 

4.คำถามที่พบบ่อย

     ถาม จดทะเบียนสมรสของออสเตรเลียแล้ว จำเป็นจะต้องจดทะเบียนสมรสของไทยหรือไม่ 
     ตอบ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสของไทยอีก สามารถทำการบันทึกฐานะแห่งครอบครัวเพื่อให้การสมรสมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายไทยได้ กรุณาติดต่อสำนักงานเขต/อำเภอที่มีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อสอบถามข้อมูลเรื่องการบันทึกฐานะแห่งครอบครัว

     ถาม มีใบหย่าแล้ว ยังต้องใช้หนังสือรับรองสถานภาพสมรสในการจดทะเบียนสมรสด้วยหรือไม่
     ตอบ ต้องมีหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสด้วยตามกฎหมายไทย เพื่อยืนยันสถานะภาพสมรสปัจจุบัน

     ถาม หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว สามารถเปลี่ยนคำนำหน้า และนามสกุล ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้เลยหรือไม่  
     ตอบ ไม่ได้ ต้องไปดำเนินการที่สำนักงานเขต/อำเภอที่มีภูมิลำเนาอยู่ โดยดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อสำนักงานเขต/อำเภอที่มีภูมิลำเนา

     ถาม สามารถไปจดทะเบียนสมรสที่สถานกงสุลใหญ่ฯ โดยไม่ได้จองคิวล่วงหน้าและอัพโหลดเอกสารออนไลน์ได้หรือไม่ 
     ตอบ ไม่ได้ คู่สมรสจะต้องทำการจองและอัพโหลดเอกสารผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น เพื่อเจ้าหน้าจะได้ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสาร

     ถาม พยานเป็นบุคคลในครอบครัว เครือญาติ หรือเป็นชาวต่างชาติได้หรือไม่
     ตอบ ได้ โดยพยานต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และมีเอกสารครบถ้วน (รายละเอียดตามข้อ 2.2)

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส กรุณาส่งมาที่อีเมล:[email protected]

 

Website-Icon-2-70_2 

***************************

สถานะวันที่ 22 พ.ย. 2564