หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 17 ก.ย. 2567

| 238,902 view

Website-Icon-2-70_2

การทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง 

 

หลักเกณฑ์และข้อมูลทั่วไป (กรุณาอ่านให้ละเอียดถี่ถ้วน)

 

บุตร (ผู้เยาว์)

กรณี

การปฏิบัติ

อายุน้อยกว่า 15 ปี

บิดาและมารดา ทั้งสองคน พาบุตรไปทำหนังสือเดินทาง

บิดาและมารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรตามกฎหมาย

ลงนามให้ความยินยอมในขณะยื่นคำร้องให้บุตรทำหนังสือเดินทาง

ไม่ต้องทำหนังสือยินยอมและมอบอำนาจ

บิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่ง พาบุตรไปทำหนังสือเดินทาง

บุคคลที่ไม่สามารถพาบุตรไปทำหนังสือเดินทาง จะต้องทำ หนังสือยินยอม โดยต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าพนักงานสถานกงสุลใหญ่ฯ พร้อมเอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคำร้อง

บิดาและมารดา ทั้งสองคน ไม่สามารถพาบุตรไปทำหนังสือเดินทางได้

ทั้งบิดาและมารดา จะต้องทำ หนังสือยินยอม และ หนังสือมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นบรรลุนิติภาวะแล้ว (20 ปีขึ้นไป) พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง โดยต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าพนักงานสถานกงสุลใหญ่ฯ พร้อมเอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคำร้อง

อายุมากกว่า 15 ปี แต่น้อยกว่า 20 ปี

บิดาและมารดา ทั้งสองคน พาบุตรไปทำหนังสือเดินทาง

บิดาและมารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรตามกฎหมาย

ลงนามให้ความยินยอมในขณะยื่นคำร้องให้บุตรทำหนังสือเดินทาง

ไม่ต้องทำหนังสือยินยอมและมอบอำนาจ

บิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่ง พาบุตรไปทำหนังสือเดินทาง

บุคคลที่ไม่สามารถพาบุตรไปทำหนังสือเดินทาง จะต้องทำ หนังสือยินยอม โดยต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าพนักงานสถานกงสุลใหญ่ฯ พร้อมเอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคำร้อง

บิดาและมารดา ทั้งสองคน ไม่สามารถพาบุตรไปทำหนังสือเดินทางได้

ทั้งบิดาและมารดา จะต้องทำ หนังสือยินยอม โดยต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าพนักงานสถานกงสุลใหญ่ฯ พร้อมเอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคำร้อง

 

หมายเหตุ 

 

  • หากไม่สามารถเดินทางมาแสดงตนและลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ ให้ท่านดำเนินการเช่นเดียวกับ หนังสือยินยอม (กรณีไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ฯ)
  • สถานกงสุลใหญ่ฯ สงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารเพิ่มเติม หรือการปฏิเสธการรับคำร้อง หากผู้ยื่นคำร้องมีเอกสารสำคัญไม่ครบถ้วน 

 

เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคำร้อง

1.ใบคำร้องนิติกรณ์ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและลงนามแล้ว

2.เอกสารของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามกฎหมาย 

     2.1 บิดา/มารดา/ผู้มีอำนาจปกครอง สัญชาติไทย

  • บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง ที่มีอายุใช้งาน
  • หนังสือเดินทางไทยฉบับจริง ที่มีอายุใช้งาน

     2.2 บิดา/มารดา/ผู้มีอำนาจปกครอง ที่เป็นชาวต่างชาติ

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง ที่มีอายุใช้งาน

(กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ใช้เอกสารแสดงตนที่หน่วยงานราชการออกให้ เช่น ใบขับขี่)

3.เอกสารของบุตร/ผู้เยาว์

  • เอกสารแสดงความสัมพันธ์ เช่น สูติบัตรไทย หรือ ทะเบียนบ้าน
  • เอกสารแสดงตน (หากมี) เช่น บัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง 

4.หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ของผู้เยาว์/บิดา/มารดา/ผู้มีอำนาจปกครอง (หากมี)

5.เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถยืนยันการได้รับอำนาจปกครองบุตรมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ได้แก่

  • หนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ป.ค.14) ซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอที่บิดาหรือมารดามีภูมิลำเนาในประเทศไทย
  • ใบมรณบัตร โดยในกรณีใบมรณบัตรฝรั่งเศสให้นำไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสก่อน จากนั้นจึงนำไปแปลเป็นภาษาไทย และทำการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
  • ทะเบียนหย่า ซึ่งระบุว่าบิดาหรือมารดามีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว 
  • คำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ 
  • ใบรับรองบุตรบุญธรรม (กรณีผู้ยื่นคำร้องเป็นบุตรบุญธรรม)

*หมายเหตุ: หากคำสั่งศาลหรือหนังสือปกครองบุตร ออกให้โดยศาลหรือหน่วยงานรัฐของประเทศออสเตรเลียจะต้องนำเอกสารดังกล่าวไป (1) รับรอง (Authentication) จากกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย (The Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) of Australia

(2) แปลเป็นภาษาไทย โดย NAATI (ต้องแปลหลังจากที่รับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียแล้วเท่านั้น เนื่องจากต้องแปลตราประทับของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารด้วย) และ (3) รับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียในเอกสารตัวจริง และเอกสารแปล จากสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ฯก่อน จึงจะสามารถใช้ประกอบคำร้องทำหนังสือเดินทางของผู้เยาว์ได้

6.เอกสารผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งบิดาและมารดา (หรือผู้มีอำนาจปกครอง) ไม่สามารถพาผู้เยาว์ยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางได้)

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน 

7.แบบฟอร์มหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทางและเดินทางไปต่างประเทศได้ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน โดยยังไม่ต้องลงลายมือชื่อ และนำมาที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ตามวันเวลาที่ได้รับนัดหมาย ซึ่งท่านจะต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น

  • แบบฟอร์มหนังสือยินยอม
  • แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ  (กรณีผู้เยาว์ อายุต่ำกว่า 15 ปี บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง ไม่สามารถไปในวันยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางได้ทั้งสองคน ให้ทำหนังสือมอบอำนาจเพิ่มเติมให้บุคคลอื่น ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีขึ้นไป) พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง)

 

ค่าธรรมเนียมนิติกรณ์

เฉพาะกรณีหนังสือให้ความยินยอมและหนังสือมอบอำนาจสำหรับการทำหนังสือเดินทางของผู้เยาว์ (ไม่มีค่าธรรมเนียม)

ในกรณีอื่น ๆ ค่าธรรมเนียม 25 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ต่อตราประทับ 

สามารถชำระเงินค่าธรรมเนียมได้ตามช่องทาง ดังนี้

  • เงินสด ชำระที่เคาน์เตอร์บริการของสถานกงสุลใหญ่ฯ เท่านั้น
  • บัตรเดบิต / บัตรเครดิต ของ VISA / Mastercard ชำระที่เคาน์เตอร์บริการของสถานกงสุลใหญ่ฯ เท่านั้น (บวกค่าธรรมเนียม 1.5% ของจำนวนค่าธรรมเนียมนิติกรณ์)
  • Postal Money Order สั่งจ่ายในนาม “Royal Thai Consulate-General, Sydney”

 

การยื่นคำร้องด้วยตัวเองที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์

  • กรุณานัดหมายเพื่อยื่นคำร้องขอรับรองเอกสาร คลิกเพื่อทำการนัดหมาย
  • กรุณาแสดงข้อความยืนยันการนัดหมายต่อเจ้าหน้าที่ในวันและเวลาที่นัดหมายไว้
  • สถานกงสุลใหญ่ฯ เปิดรับคำร้องนิติกรณ์ จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 9:30-12:30 น. และ 14:00-15.00 น.เฉพาะผู้ที่นัดหมายล่วงหน้าเท่านั้น

 

ระยะเวลา

ยื่นคำร้องด้วยตนเอง - ปกติระยะเวลาดำเนินการภายในวันเดียวกัน หรือ 1 วันทำการ กรณีเอกสารครบถ้วน ทั้งนี้อาจใช้เวลาเพิ่มขึ้นหากมีเอกสารจำนวนมาก หรือปัญหาต่างๆที่ไม่คาดคิด

 

หนังสือยินยอม และ/หรือ มอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ฯ)

หนังสือยินยอม และ/หรือ หนังสือมอบอำนาจ รวมถึงเอกสารประกอบต่างๆ ตามที่สำนักงานหนังสือเดินทางร้องขอ จะต้องนำเอกสารดังกล่าวไป (1) รับรองลายมือชื่อ และ/หรือ รับรองสำเนาเอกสารจาก โนตารีพับลิค (Notary Public)  (2) รับรอง (Authentication) จากระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย (The Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) of Australia) และ (3) รับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียในเอกสารตัวจริง จากสถานสถานกงสุลใหญ่ฯก่อน จึงจะสามารถใช้ประกอบคำร้องทำหนังสือเดินทางของผู้เยาว์ได้

 

เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคำร้อง

 

1.ใบคำร้องนิติกรณ์ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและลงนามแล้ว 

2.สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบขับขี่ของผู้เป็นเจ้าของเอกสาร หรือผู้ยื่นคำร้อง

3.ต้นฉบับเอกสาร ที่ผ่านการรับรองมีประทับตราและลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนามรับรองเอกสารของ DFAT พร้อมสำเนา 1 ชุด

 

ค่าธรรมเนียม

25 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ต่อตราประทับ (สถานกงสุลใหญ่ฯ จะประทับตราตามจำนวนตราประทับของ DFAT)

 

การยื่นคำร้อง

ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคำร้องตามที่ระบุไว้ ทางไปรษณีย์หรือผู้ให้บริการส่งเอกสาร พร้อมแนบค่าธรรมเนียมนิติกรณ์เป็น Money Order สั่งจ่ายในนาม “Royal Thai Consulate-General, Sydney” และซองไปรษณีย์เปล่าแบบลงทะเบียนสามารถติดตามได้ จ่าหน้าซองถึงตัวท่านและชำระค่าธรรมเนียมไปรษณีย์แล้ว ส่งทั้งหมดมาที่

 

Consular Section (Legalisation)

Royal Thai Consulate-General, Sydney

Level 8, 131 Macquarie Street, 

Sydney, NSW 2000

Australia

 

*หมายเหตุ: ไม่รับชำระค่าธรรมเนียมนิติกรณ์เป็นเงินสดทางไปรษณีย์ สถานกงสุลใหญ่ฯ ไม่สามารถรับผิดชอบในกรณี ความล่าช้า เอกสารเสียหาย หรือสูญหาย เนื่องจากการส่งทางไปรษณีย์หรือผู้ให้บริการส่งเอกสาร ไม่ว่ากรณีใดๆ 

 

ระยะเวลา

ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ - ทางสถานกงสุลใหญ่ฯจะจัดส่งเอกสารให้ใน 2-3 วันทำการ (ไม่รวมระยะเวลาจัดส่ง) 

 

ดาวโหลดแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

.................................................

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง กรุณาส่งมาที่อีเมล: [email protected]

 

***************************

สถานะวันที่ 29 มิ.ย.2566